_

การออกแบบ หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงปัจจัย ข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ เป็นการผสมผสานความรู้ ทรัพยากร เพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับปัญหาหรือความต้องการนั้น ๆ ผ่านการศึกษา วิจัย ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ การปรับปรุง ทดสอบแก้ไข และแสดงแนวคิดออกมาเป็นรูปธรรม โดยผลของการออกแบบนั้น อาจจะออกมาในรูปของวัตถุสิ่งของ หรือกระบวนการในการแก้ปัญหาหรือความต้องการก็ได้

ทั้งนี้ก็เพื่อให้การดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้น และควบคู่ไปกับการรู้จักวิธีการจัดการทรัพยากรให้มีประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

การออกแบบที่แบ่งตามลักษณะของการบูรณาการองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการออกแบบ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

  1. การออกแบบวิจิตรศิลป์ (Fine Art) หมายถึง วิทยาการที่มีเนื้อหาด้านการออกแบบที่มุ่งเน้นไปที่งานวิจิตรศิลป์ หรือ งานที่อยู่ในระดับศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) โดย ผู้สร้างสรรค์งานประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มศิลปิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาย่อย ๆ เช่น ด้านงานจิตรกรรม ด้านงานภาพพิมพ์ หรือด้านงานประติมากรรม โดยมีจุดมุ่งหมายของการออกแบบมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอแนวความคิด อารมณ์ ความต้องการ ของนักออกแบบหรือศิลปิน เป็นหลัก
  2. การออกแบบทางศิลปประยุกต์ (Apply Art) หมายถึง วิทยาการที่มีเนื้อหา ด้านการออกแบบที่นำความรู้ในสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ด้านจิตวิทยา ฯลฯ นำมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการทางด้านศิลปะแขนงต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การออกแบบทางเรขศิลป์ การออกแบบทางหัตถกรรม ฯลฯ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ผู้บริโภคเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับความพึงพอใจ ทั้งทางด้านหน้าที่ใช้สอย (Functions) ความชื่นชอบด้านความงาม สามารถบ่งบอกรสนิยมของตนเองได้ ความสะดวกสบาย ตลอดจนการได้รับผลตอบแทนทางด้านธุรกิจ

ความสัมพันธ์ของการออกแบบระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง วิชาชีพแขนงหนึ่งที่มีวิธีดำเนินงานโดยการนำวิธการทางด้านศิลปะ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรม มาบูรณาการ ภายใต้การนำเสนอรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ และผลทางด้านจิตวิทยาที่มีต่อผู้เกี่ยวข้องภายใต้แนวคิดนี้จึงเกิดข้อสรุปประการหนึ่งคือ การเกิดแนวคิด การออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างเงื่อนไขทางด้านศิลปะและด้านวิทยาศาสตร์ ดังภาพประกอบต่อไปนี้

(A) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการออกแบบโดยมีส่วนของเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นหลัก มากกว่าส่วนเนื้อหาทางศิลปะ ไม่มุ่งเน้นในเรื่องความงามของรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ , เครื่องจักร , เครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการเกษตร , เครื่องมือ/อุปกรณ์ทางทหาร ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการพัฒนารูปแบบ ให้มีความสวยงามมากขึ้น เช่น เครื่องจักร รถตักดิน รถไถนา เก้าอี้ทำฟัน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อการแข่งขันได้ทางการตลาด และเหตุผลอื่น ๆ เช่น ด้านจิตวิทยา (Psychological Function) ตัวอย่าง เก้าอี้ทำฟันในอดีตมีลักษณะรูปร่างที่ดูแล้วน่ากลัว และเพื่อให้กลุ่มลูกค้าลดความน่ากลัวของเก้าอี้ ทำฟัน จึงต้องมีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามมากขึ้น มีการสื่อสารของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้มากขึ้น (User-friendly Design)

(B) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการออกแบบโดยมีเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเนื้อหาทางศิลปะอยู่ในระดับอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ มุ่งเน้นทั้งทางด้านประสิทธิภาพใน การใช้งาน (ได้แก่ Function Performance เป็นต้น) และรูปลักษณ์ภายนอก (ได้แก่ รูปทรง สี วัสดุ พื้นผิว เป็นต้น) ที่สวยงามด้วย ซึ่งในการออกแบบผลิตภัณฑ์บางอย่างนั้นต้องอาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยให้แนวคิดนั้นสามารถเป็นจริงได้ เช่น เทคโนโลยีด้านวัสดุ เทคโนโลยีด้านการผลิต เป็นต้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ (ต้องการความสวยงามและความแข็งแรงของโครงสร้าง) , คอมพิวเตอร์ (ต้องการประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและรูปลักษณะภายนอก ที่สวยงาม) , เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย (ต้องการประสิทธิภาพใน การทำงาน และรูปแบบ ที่สวยงาม) ฯลฯ เป็นต้น

(C) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ โดยมีเนื้อหาสาระทางด้านศิลปะมากกว่าเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือมุ่งเน้นทางด้านความงามของรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ที่บ่งบอกถึงรสนิยม รูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) ของผู้ใช้ ซึ่งเป็นการตอบสนองหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ในด้านความงามเป็นหลัก (Aesthetical Function) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ เช่น เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ของที่ระลึก ของประดับ และตกแต่งบ้าน ฯลฯ เป็นต้น

แต่เนื่องจากปัจจุบัน กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในวิชาการด้านต่าง ๆ ทั้ง การพัฒนาด้านเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แม้แต่วิชาการทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็เช่นเดียวกัน การปรับเปลี่ยนแนวคิดบางประการ เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ทางวิชาการด้านนี้ ดังเช่น แนวคิดสามมิติของตำแหน่งการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม ที่นำเอาปัจจัยทางด้านสังคมเข้ามาเป็นส่วนร่วมกำหนดผลิตภัณฑ์

การออกแบบที่คำนึงปัจจัยทางด้านสังคม มีหลายด้าน เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านชีวิตและความเป็นอยู่ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

ผู้บริโภคมีความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การเกิดขยะที่เป็นพิษ ทั้งก่อนการใช้งาน และหลังจากการใช้งาน (Disposal ) การใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycling) รวมไปถึงกระบวนการผลิต (Manufacturing Process ) ของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย เช่น แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การใช้สารที่ก่อให้เกิดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม


การนำเอาวัสดูที่ได้จากการ Recycle มาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความสามารถที่หลากหลายของคนทั้งทางกายภาพและความรู้สึก เน้นที่ความแตกต่างของผู้ใช้สอย เน้นความเท่าเทียมกัน การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ในสังคมของทั้งคนปกติ คนพิการ คนชรา และเด็ก


การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อทุกคน

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป