_

พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความรู้และทักษะของตนเพื่อการดำรงชีวิตซึ่งมีทั้ง สร้างสรรค์และขัดแย้ง ดังนั้น การเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนองความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมินอย่างมีวิจารญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

การบริโภคผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่นหรือต่างประเทศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่งก็ได้ จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง

เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยีการแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรมและสังคมของมนุษย์ เป็นต้น

ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณฐาณ โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย

นอกจากนี้ การสร้างเทคโนโลยียังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ด้วย โดยนำมาเป็นเกณฑ์ในการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆและ การสร้างชิ้นงานก็ต้องอาศัยทักษะพื้นฐานต่าง ๆ เช่น งานไม้ งานโลหะ กาตัด ซึ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง

ความสามารถในการประเมินผลเทคโนโลยีจะช่วยให้ทราบข้อบกพร่อง และปรับปรุงพัฒนาเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในการใช้ เช่น ไม่เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ เป็นต้น

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

ดังข้อเสนอของเปรื่อง กิจรัตนี ต่อไปนี้:

  1. พัฒนานักเรียนให้เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือ วัสดุ กระบวนการและวิธีผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมยุคเทคโนโลยี
  2. ให้นักเรียนเรียนรู้และประสบการณ์จากการทำให้โครงงานและกิจกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มพูนปัญญา ทักษะและทัศนะคติ เมื่อเติบใหญ่จะเป็นประชากรที่มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมได้อย่างดี
  3. ให้นักเรียนมีโอกาสสำรวจปัญหาทางสังคม อันเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยี
  4. กระตุ้นนักเรียนตระหนักถึงสาเหตุและผลจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่อธุรกิจอาชีพอุตสาหกรรม และวัฒนธรรมของมนุษย์ทั่วโลก
  5. เสริมสร้างให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเทคโนโลยีในอดีต ปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งผลกระทบขอนวัตกรรมต่อชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและระดับโลก
  6. ปลูกฝังให้นักเรียนใส่ใจและมีความรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีในฐานะพลเมืองดี เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  7. ให้นักเรียนมีทักษะเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  8. ให้นักเรียนมีทักษะในระบบเทคนิคทั่วไป (การสื่อสาร การก่อสร้าง การผลิตอุตสาหกรรมและการขนส่ง) เพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพหลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแล้ว
  9. ให้นักเรียนเข้าใจเทคนิคและเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมพัฒนาสมาชิกในสังคมให้มีความรู้และเข้าใจหลักการของเทคโนโลยี
  10. ให้นักเรียนมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในหลักสูตรแบบสหวิทยาการ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิชาหรือศาสตร์อื่นๆ
หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีใด ๆ ผู้ใช้ต้องศึกษาผลดีและผลเสียของเทคโนโลยีนั้น ๆ และพิจารณาว่า ผลเสียที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมหรือป้องกันได้ หากประโยชน์ของเทคโนโลยีนั้นคุ้มค่าและมากกว่าผลเสีย จึงตัดสินใจนำมาใช้ประโยชน์ได้

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกใช้เทคโนโลยี

  1. ค่านิยมที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
  2. ผลของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรในสังคม สถาบันและหน่วยงานต่างๆ
  3. ผลกระทบเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจ

นอกจากคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีแล้ว การเลือกใช้ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับสังคม ดังต่อไปนี้

  1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชุมชน
  2. ระบบนิเวศของชุมชน
  3. ความสิ้นเปลืองทรัพยากรของท้องถิ่น หากนำเทคโนโลยีมาใช้
  4. ความต้องการและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีของชุมชน
  5. เทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรม ศีลธรรมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

เทคโนโลยีเป็นแนวคิดการสร้างหรือวิธีการจัดการจัดหาสิ่งของที่มนุษย์ต้องการใช้ในการดำรงชีวิตเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย เริ่มตั้งแต่อย่างง่ายแล้วพัฒนาปรับปรุง และวิวัฒนาการจนก้าวหน้าตามความรู้ของแต่ละชุมชน และถูกถ่ายทอดจากชนรุ่งหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง หรือ จากชุมชนหนึ่งไปยังอีกชุมชนหนึ่ง ทำให้ความรู้เหล่านี้กระจายไป และเกิดการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการมนุษย์กว้างขวางยิ่งขึ้น ลักษณะดังกล่าวเรียกว่า "การถ่ายทอดเทคโนโลยี" หรือ การได้มาซึ่งความรู้ทางด้านเทคโนโลยี (Technology Know-How) สำหรับการผลิตสินค้าและบริการด้วย

ระดับของการถ่ายทอดเทคโนโลยี

การถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจแบ่งได้ 4 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 เป็นการโยกย้ายทางภูมิศาสตร์ของเทคโนโลยี เช่น การเคลื่อนย้ายโรงงานและเครื่องจักรจากภูมิศาสตร์หนึ่งไปยังอีกภูมิศาสตร์หนึ่ง ความหมายเช่นนี้ ผู้ขายเทคโนโลยีและนักวิชาการในประเทศพัฒนาแล้วนิยมใช้กันมาก ต่อมาเห็นว่า ความหมายนี้ไม่ยังครอบคลุม และควรเรียกการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับนี้ว่า "การนำเข้าเทคโนโลยี"

ระดับที่ 2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อผู้รับสามารถดำเนินการผลิตบำรุงรักษาแกละเปลี่ยนแผนการผลิต โดยมิต้องอาศัยผู้ให้อีกต่อไป

ระดับที่ 3 เป็นระยะที่เทคโนโลยีซึ่งได้รับจากระดับที่ 2 ส่งผ่านหรือกระจาย (diffuse) ความรู้ดังกล่าวภายในสังคม อาจเป็นการกระจายโดยไม่เจตนาของผู้รับและผู้ให้ก็ได้

ระดับที่ 4 การถ่ายทอดในระยะนี้จะสมบูรณ์ เมื่อผู้รับเทคโนโลยีทั้งโดยตรงและทางอ้อม สามารถสร้างเทคโนโลยีชนิดหนึ่งขึ้นได้ใหม่ โดยไม่ต้องอาศัยผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งสามารถดัดแปลง แก้ไขเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั่วไป หมายถึง การเคลื่อนย้ายวิทยาการหรือความรู้ความสามารถจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง อีกนัยหนึ่ง คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ (Technology Transfer) ในระยะหลังให้ความสำคัญการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายในประเทศ และภายในองค์การด้วย

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

ผู้ซื้อต้องการใช้เทคโนโลยีนั้น

ผู้ซื้อมีความเขื่อว่า จะได้รับประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยการนำเข้าเทคโนโลยี จากต่างประเทศ แต่เทคโนโลยีนั้นต้องสอดคล้องกับนโยบายหรือวัตถุประสงค์ของรัฐและเอกชน โดยเอกชนต้องให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวมากกว่าราคาของเทคโนโลยี

ไม่มีเทคโนโลยีในประเทศนั้น

เนื่องจากค่านิยมที่เขื่อว่าสินค้าจากต่างประเทศดีกว่าสินค้าภายในประเทศ ทำให้การผลิตภายในประเทศต้องตอบสนองความต้องการของตลาด และการเลียนแบบของผู้บริโภค การดำรงชีวิตจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้รับมีความรู้ไม่เพียงพอที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนั้น เป็นเหตุให้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศต่อไป

ผู้ซื้อเชื่อว่าเทคโนโลยีในประเทศมีราคาสูงกว่าต่างประเทศ

เพื่อให้การลงทุนการผลิตมีมูลค่าต่ำลง ทำให้ผู้ซื้อเทคโนโลยีบางรายเชื่อว่า เทคโนโลยีบรรษัทข้ามชาติมีราคาต่ำกว่า และหากคำนึงถึงระดับการพัฒนาเทคโนโลยีด้วย ทำให้ผู้ซื้อยินดีรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศ

นอกจาก เงื่อนไขดังกล่าว การถ่ายทอดเทคโนโลยีอาจเกิดจากการเป็นบริษัทร่วมทุน ซึ่งผู้ร่วมทุนในประเทศถูกบังคับกรนำเข้าเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นการตกลงทางการค้าระหว่างผู้จัดส่งและผู้รับ ซึ่งการได้มาซึ่งเทคโนโลยี มี 5 แนวทางด้วยกัน ดังนี้

การกระจายอย่างเสรีในรูปของข้อมูลข่าวสาร

การถ่ายทอดเทคโนโลยีลักษณะนี้ เกี่ยวกับความรู้เรื่องการประดิษฐ์ หรือวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างไม่เป็นทางการ มักเป็นเทคโนโลยีแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่ หนังสือ วีดิทัศน์ รายการโทรทัศน์ การกระจายเทคโนโลยีแบบนี้อาจนำไปใช้ได้ แต่ไม่ตรงกับความมุ่งหมาย

การกระจายผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์บางชนิดจำเป็นต้องมีคู่มือประกอบการใช้ เช่น เครื่องตัดหญ้า คอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตจะให้คู่มือการใช้พร้อมกับวิธีการบำรุงรักษา เมื่อเครื่องเสียต้องนำไปให้ช่างซ่อม ช่างจึงมีโอกาสศึกษาวิธีการต่าง ๆ ทำให้ช่างเรียนรู้ส่วนประกอบของเครื่อง และสามารถผลิตเครื่องใหม่ได้ ถ้าหากช่างเกิดความชำนาญ รอบรู้แสดงว่ามีการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากับผลิตภัณฑ์

การกระจายไปด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือผู้สนับสนุนอื่น

ส่วนใหญ่รัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้ว จะเสนอเทคโนโลยีกับประเทศที่กำลังพัฒนาด้านสุขภาพ การเกษตร และกระบวนการการผลิตอาหาร แต่ไม่เสนอกระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่ทันสมัย

การกระจายไปกับสัญญาทางการค้ากับส่วนประกอบทางเทคโนโลยี

สัญญาหรือข้อตกลงที่เขียนเป็นชุดเพื่อใช้ควบคุมงาน เช่น ข้อตกลงทางวิศวกรรมโยธา ข้อตกลงการซื้อเครื่องจักร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและอื่น ๆ มักมีข้อบังคับให้วิศวกรเป็นที่ปรึกษาโครงการ แต่การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้รับถึงขึ้นเกิดความขำนาญและรอบรู้มีน้อยมาก

การกระจายไปทางสัญญาการได้มาซึ่งเทคโนโลยีเพื่อการค้า

การถ่ายเทคโนโลยีกระทำโดยผ่านสัญญา โดยครอบคลุมถึงระบบเอกสาร การฝึกอบรม และความช่วยเหลือทางเทคนิค

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

การวิเคราะห์และวางแผน

การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยี(ผู้รับ) ผู้มีเทคโนโลยี(ผู้ให้) และตัวเทคโนโลยี ผู้รับเทคโนโลยีต้องพิจารณาจุดอ่อนของตนและพร้อมจะรับเทคโนโลยีนั้นหรือไม่ ต้องวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเสียเปรียบและวิเคราะห์เชิงเทคนิคด้วย

การเสาะแสวงหาเทคโนโลยี

วิธีการค้นหาเทคโนโลยีสามารถทำได้หลายทาง เช่น การค้นหาอย่างไม่เป็นทางการ งานจัดแสดงสินค้า สื่อหรือสิ่งพิมพ์ ปรึกษา ตัวแทนระหว่างประเทศ ค้นหาจากการบริการข้อมูลของรัฐบาลและผู้แข่งขัน

การประเมินเทคโนโลยี

ผู้รับเทคโนโลยีต้องประเมินด้วยการวิเคราะห์ตนเองและวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยใช้คำถามต่าง ๆ เช่น ประเทศต้องการเทคโนโลยีนั้นหรือไม่ ใช้ได้หรือไม่ สิ่งสุดท้ายของการประเมิน คือ การตัดสินใจจัดหาเทคโนโลยีในที่สุด

การต่อรองเงื่อนไขในสัญญา

เมื่อผู้รับเทคโนโลยีตัดสินใจรับเทคโนโลยีจากผู้ขาย ก่อนตกลงทำสัญญามักมีการเจรจาต่อรองเงื่อนไข เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

การเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการ

การเขียนสัญญาอย่างเป็นทางการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการรับเทคโนโลยีจากผู้ให้โดยการทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสำหรับการค้า

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป

_

การเลือกใช้เทคโนโลยี ในระดับประเทศหรือผู้ประกอบการ ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีหลักเกณฑ์ที่แบบควรปฏิบัติดังนี้

หน้าที่แล้ว หน้าถัดไป